เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทุกคนที่ประจำแต่ละสถานีดับเพลิง จะต้องเรียนรู้เข้าใจพื้นฐานการดับเพลิง ซึ่งในหลักสูตรบรรเทาสาธารณภัยขั้นต้นจะต้องเรียนและศึกษา เอาเป็นว่าบันทึกไว้ทบทวนก็แล้วกันครับและเผื่อผู้ที่สนใจ ซึ่งเนื้อหาก็มาจากอาจารย์หลายๆท่านหลายๆหลักสูตร
ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้
การเผาไหม้หรือการสันดาป เป็นปฏิกิริยาการคายความร้อนซึ่่งเป็นสภาวะที่เกิดจากเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ เมื่อเผาไหม้แล้วก่อเกิดพลังงาน
มีองค์ประกอบหรือปัจจัยอยู่ 4 อย่าง
1.เชื้อเพลิง Fuel
2.ออกซิเจน Oxygen
3.ความร้อน Heat
4.ปฏิกิริยาลูกโซ่ Chemecal chian Reaction
องค์ประกอบทั้งหมดต้องมีอัตราส่วนที่พอเหมาะ
ช่วงการลุกไหม้ของเชื้อเพลิง Flammable range
ซึ่งช่วงของการจุดติดเชื้อเพลิงแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันตามขบวนการคายไอของเชื้อเพลิง Pyrolysis = เป็นขบวนการสลายตัวของสารด้วยความร้อน เช่น ไม้(C6H10O5) เมื่อสลายตัวเป็น คาร์บอน ,ไฮดรอเจน และทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เมื่อได้รับความร้อนจะเกิด
การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์เกิดขึ้นเนื่องจาก ปริมาณของออกซิเจนลดน้อยลง ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้จากสีของเปลวไฟที่เปลี่ยนไป เมื่อมีออกซิเจนในปริมาณที่เหมาะสมเปลวไฟจะมีสีเหลืองสว่าง เมื่อออกซิเจนลดน้อยลงสีของเปลวไฟจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ส้มแก่ และเป็นสีแดง เมื่อมีปริมาณออกซิเจนต่ำมากไฟจะเริ่มดับด้วยตนเองได้เนื่องจากขาดออกซิเจน
การพัฒนาของไฟ การเผาไหม้ทำให้เกิดก๊าซและควันไฟ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ
1.ช่วงลุกไหม้ Ignition เป็นช่วงของการเริ่มลุกไหม้ที่จุดต้นเพลิง
2.ช่วงขยายตัว Growth เป็นช่วงไฟเริ่มลุกไหม้มากขึ้น มีการลุกลามด้วยวิธีการต่างๆ
3.ช่วงลุกไหม้เต็มที่ Fully Developed เป็นช่วงการลุกไหม้อย่างเต็มที่มีขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ของการเกิดเพลิงไหม้
4.ช่วงไฟมอด Decay เป็นช่วงที่ไฟเริ่มขาดปัจจัยในการลุกไหม้ ตามองค์ประกอบของไฟ คือเชื้อเพลิง ความร้อน ออกซิเจน ทำให้ไฟมอดและดับลงในที่สุด
มี 10 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์